องค์การบริหารส่วนตำบลกวางโจน อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ : www.kwangjhone.go.th

 
 
สภาพทางเศรษฐกิจ

สภาพทางเศรษฐกิจ

อาชีพ

             อาชีพหลัก  คือการทำนา  ซึ่งมีอยู่ในทุกหมู่บ้าน  ข้าวที่ปลูกส่วนส่วนใหญ่เป็นข้าวเหนียว (ส่วนใหญ่เป็นข้าวเหนียวพันธ์ กข.๖ และ กข.๒๓) ข้าวจ้าวมีปลูกบ้างแต่เป็นส่วนน้อย

             อาชีพรอง  คือการทำไร่  และทำสวน ได้แก่

                   การปลูกอ้อย มีปลูกมากเป็นอันดับสองรองจากข้าว และปลูกในพื้นที่ในทุกหมู่บ้าน  เนื่องจากอยู่ใกล้โรงงานน้ำตาลรวมเกษตรกร(ในตำบลโคกสะอาด อำเภอภูเขียว) คิดเป็นพื้นที่เพาะปลูกอ้อยทั้งหมด  ,๔๙๕  ไร่  เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญรองจากข้าว

การปลูกข้าวโพด แต่เดิมปลูกเป็นจำนวนมาก แต่ในปัจจุบันก็มีปลูกบ้างแต่ไม่มากนักส่วนใหญ่ปลูกเฉพาะสำหรับบริโภคในครัวเรือน

การปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ได้แก่ มะม่วง กล้วย มะพร้าว มะขามฯ ปลูกในพื้นที่เกือบทุกหมู่บ้าน 

คิดเป็นพื้นที่เพาะปลูก  ๒๖๖  ไร่

การเลี้ยงสัตว์ มีเกือบทุกหมู่บ้าน สัตว์ที่ลี้ยงได้แก่

                     ๑. การเลี้ยงโคเนื้อ (โคพื้นเมือง, โคลูกผสม, โคพันธ์แท้) มีการเลี้ยงกระจายไปในทุก      

หมู่บ้านมีเกษตรกรผู้เลี้ยงประมาณ ๑๐๐ ราย และโคเนื้อประมาณ ๒๐๐ตัว มีเลี้ยงมากในบ้านหนองคร้อ  บ้านบัวพักเกวียน (ม.๑) และบ้านหนองกุงคำ (ม.๑๓)

                      ๒. การเลี้ยงกระบือ เลี้ยงเพื่อใช้งานในการทำการเกษตรมีเกษตรกรผู้เลี้ยงจำนวน ๕๐ ราย

กระบือประมาณ ๑๐๐ตัว มีการเลี้ยงประปรายในหมู่ที่๑ บ้านบัวพักเกวียน บ้านดอนจำปา บ้านหนองคร้อ  และบ้านหนองกุงคำ

                     ๓. การเลี้ยงสุกร เป็นการเลี้ยงแบบออมเงินในครัวเรือน  นอกนั้นก็เป็นการเลี้ยงเป็นฟาร์ม  ขนาดเล็ก ส่วนฟาร์มขนาดกลางและขนาดใหญ่มีจำนวนน้อย  ตำบลกวางโจนมีผู้เลี้ยง สุกรจำนวน  ๕๐  ราย  สุกรจำนวน  ๕๐๐  ตัว

                      ๔. การเลี้ยงเป็ด (เป็ดเชอรี่, เป็ดเทศ) ส่วนใหญ่เลี้ยงเพื่อบริโภคในครัวเรือน มีเกษตรกรผู้เลี้ยง จำนวน  ๒๐๐  ราย  เป็ดจำนวน  ,๐๐๐  ตัว

                    ๕. การเลี้ยงไก่  (ไก่เนื้อ, ไก่ไข่, ไก่พื้นเมือง) ตำบลกวางโจนมีการเลี้ยงไก่เป็นฟาร์มขนาดกลาง             โดยเป็นลูกค้าของบริษัทใหญ่ที่ทำการส่งออก  เกษตรกรผู้เลี้ยงประมาณ ๒๖๒ ราย ไก่จำนวน  ๓๐๐,๐๐๐ ตัว

การประมง การทำประมงในพื้นที่ตำบลกวางโจน จะเป็นประมงน้ำจืด คือ จับปลาจาก แหล่งน้ำธรรมชาติและเกษตรกรบางส่วนก็เพาะเลี้ยงพันธ์ปลาด้วย เช่น ปลานิล ปลาตะเพียน  ปลาไน  ปลาดุก  โดยขุดบ่อเลี้ยงปลาหรือเลี้ยงปลาในนาข้าว  แต่นับว่ายังเป็นส่วนน้อย ซึ่งมีอยู่กระจายในหมู่บ้านต่าง ๆ ของตำบล

อาชีพเสริม  ได้แก่

                          การทอผ้า ซึ่งมีอยู่ในทุกหมู่บ้าน ส่วนใหญ่เป็นการทอผ้าไหม ผ้าไหมมัดหมี่ และผ้าขิด ส่วนมากเป็นการทำเพื่อการออมในครัวเรือน ทำมากที่บ้านหนองกุงทั้ง ๓ หมู่ คือ หมู่ ๖,๑๓,๑๔ บ้านบัวพักเกวียนทั้ง ๒ หมู่ หมู่ที่ ๑ และ ๑๒ และบ้านหนองปอแดง

                          การค้าขาย ส่วนมากเป็นร้านขายของชำขนาดเล็ก และขนาดกลาง ซึ่งมีกระจายไปในทุกหมู่บ้านแต่ที่มีมากที่สุดคือ  บ้านหนองกุงทั้งสามหมู่บ้าน  รองลงมาคือบ้านบัวพักเกวียนทั้งสองหมู่บ้าน 

       รับจ้างต่าง ๆ

หน่วยธุรกิจในเขต องค์การบริหารส่วนตำบล

-  ปั๊มน้ำมันและก๊าซ ส่วนใหญ่เป็นปั๊มน้ำมันขนาดเล็ก และปั๊มหลอด   จำนวน        แห่ง

-  โรงสี                                                จำนวน           ๓๐      แห่ง

-  ร้านอาหาร                                         จำนวน                   แห่ง

-  ร้านค้า                                             จำนวน           ๖๐      แห่ง

-  ร้านทำเฟอร์นิเจอร์และเหล็กดัด                จำนวน                   แห่ง

-  อู่ซ่อมรถยนต์/จักรยานยนต์                     จำนวน           ๑๐      แห่ง

-  ฟาร์มไก่                                            จำนวน                   แห่ง

-  กิจการยางรัด                                      จำนวน                   แห่ง

-  รับซื้อถังพลาสติกและเหล็ก                      จำนวน                   แห่ง

-  ร้านเสริมสวย                                       จำนวน                   แห่ง

-  โกดังเก็บแก๊สหุงต้มขนาดเล็ก                     จำนวน                   แห่ง

-  เสาโทรศัพท์เคลื่อนที่                               จำนวน                   แห่ง

-  ร้านขายผ้าสำเร็จรูป                                จำนวน                   แห่ง

-  โรงงานทำเหล็กปิ้ง                                  จำนวน                   แห่ง

-  โรงงานทอผ้าไหมพรม                              จำนวน                   แห่ง